ทำงานที่บ้านกันมาสักพักแล้ว เริ่มเข้าที่กันรึยัง?
บางคนอาจจะเคยทำงานที่บ้าน หรือนอกสถานที่มาบ้างแล้ว แต่มีคนจำนวนไม่น้อยที่ไม่คุ้นเคย และต้องใช้เวลาในการเรียนรู้ใหม่
ไหนๆ เราจะต้อง work from home กันไปอีกสักระยะ มาปรับตัวไปพร้อมๆ กัน ให้เราทุกคนทำงานอยู่บ้านได้อย่างไม่หงุดหงิดใจ เครียดน้อยที่สุด และ productive ด้วย
1. Work from home ไม่มีนิยามใน job description แต่มีข้อควรปฏิบัติอยู่
เราโชคดีแค่ไหนที่ได้ work from home ในวันที่มีเทคโนโลยีเป็นตัวช่วยนับไม่ถ้วน ที่จริงแล้วหลักการคล้ายกับการทำงานข้ามออฟฟิศ หรือ remote office หลายบริษัททำโดยอาศัยเทคโนโลยีอำนวยความสะดวก หรือ collaboration tools ต่างๆ อยู่แล้ว
แต่ด้วยความที่คนจำนวนมาก ซึ่งมีความรู้เกี่ยวกับเหล่าเครื่องมือดิจิทัลไม่เท่ากัน ต้องมาทำงานจากที่บ้านพร้อมกัน ย่อมมีความหงุดหงิดช่องทางการสื่อสารได้ เพราะแต่ละแอพก็มีข้อดีข้อเสียต่างกัน
.
เกือบทุกคนมี LINE ก็จริง แต่ในแง่ของการทำงานเต็มตัวเต็มเวลา ฟังก์ชันอาจจะไม่ครบถ้วน และช่วยในการ organize ได้น้อยมาก บางครั้งกว่าจะเห็นข้อมูลสำคัญที่ไม่ใช่ FYI แต่เป็น FYA (for your action) ต้องเลื่อนย้อนขึ้นไปนับสิบข้อความ
เวลานี้ทุกคนควรเรียนรู้วิธีสื่อสารที่เหมาะกับลักษณะงานที่สุด ข้อมูลสำคัญๆ แชร์ได้หลายช่องทาง เปิดโลกมาลองหลายๆ แอพที่ออกแบบมาเพื่อการทำงานจริงๆ ตั้งแต่ Zoom ที่ช่วยให้การประชุมง่ายขึ้น ไดรฟ์จัดการไฟล์ที่ให้ทุกคนทำงานพร้อมกันได้ เช่น Google Drive ช่องทางการสื่อสารออนไลน์ที่หลายบริษัทใช้ เช่น Slack หรือสำหรับใครที่ทำงานเป็นโปรเจค Trello ก็ช่วยให้เห็นว่าใครทำอะไรอยู่ ถึงไหนแล้ว รับรู้สถานะร่วมกันโดยไม่ต้องนั่ง @ชื่อเรียก mentionใน LINE กันทั้งวัน
2. สร้างวินัย ด้วยการสร้าง routine
หลายคนเริ่มประสบปัญหานั่งทำงานที่บ้านทั้งวัน จนกลายเป็นคนติดเก้าอี้ ในเมื่อเข้าออฟฟิศยังมี work hours ทำที่บ้านก็ควรมีเช่นกัน และควรมีกิจวัตรง่ายๆให้รู้สึกสดชื่นพร้อมทำงานแต่ละวัน เช่น ตื่นมาทำกาแฟตอนเช้า อาบน้ำแต่งตัวให้เหมาะสม (เผื่อต้อง conference call) เตรียมอาหารเช้าก่อนจะ “เปิดเครื่อง” routine ง่ายๆ ให้ร่างกายคุ้นชินกับตารางใหม่
.
การจัดสรรเวลาสำคัญพอๆ กับวันที่เราต้องฝ่ารถติดไปออฟฟิศ ทุกนาทีมีค่า ใครอยู่บ้านกับครอบครัวหรือมีสัตว์เลี้ยง ไม่ควรให้อาหารน้องหมาจนเพลิน หรือแอบไปทำงานบ้านระหว่างเวลางาน อย่าลืมว่าเราอยู่ในเวลางาน โฟกัสกับงานเป็นหลัก บอกคนที่บ้านให้รู้ว่าเราต้องการสมาธิ พยายามพักให้ตรงเวลา แล้วจะเอาเวลานั้นไปคุยกันระหว่างกินข้าว หรือเล่นกับสัตว์เลี้ยงก็ยังทัน จะได้ไม่หลุดโฟกัสจากสิ่งที่ทำอยู่
3. จะ burn-out หรือ bore-out ก็ไม่ดี
จังหวะนี้มีทั้งคนที่งานล้นจนไม่เป็นอันทำอะไร และคนที่ยังงงๆ ว่า work from home ต้องทำอะไรบ้าง ซึ่งความท้าทายทั้งสองแบบไม่เป็นผลดีในระยะยาว
ไม่มีใครอยากงานล้นจนนั่งกินข้าวคาโต๊ะทำงาน หรือนอนกอดแล็ปท็อปแทนหมอนข้างคาเตียง ถ้างานโหลดเกินไป ควรบริหารจัดการเวลาเริ่มที่ตัวเองก่อน และปรึกษากับทีมเพื่อดูแลไม่ให้ทำงานเกินขีดความสามารถ ก่อนจะมีใคร burn-out แล้วต้องลางาน แต่เหมือนไม่ได้ลาอยู่ดี
.
ส่วนใครที่รู้สึกว่างผิดปกติ ไม่เคยถูก mention ในกรุ๊ปแชท และตื่นมาโดยไม่มี agenda ในปฏิทิน สถานการณ์สงบเกินไปก็ไม่ใช่เรื่องดี ไม่กี่วันผ่านไป เราก็จะเริ่มรู้สึกไร้จุดหมาย ไร้ตัวตน ไร้ผลงาน และอาจจะเบื่อ เฉา หรือเกิดอาการ bore-out ไปเอง
บริษัทหรือหัวหน้างานควรสื่อสารหน้าที่รับผิดชอบให้ชัดเจน ถ้าหน้าที่เราไม่ชัดเจน ต้องตั้งรับทุกทาง หรือไม่รู้ต้องประสานงานกับใคร ต้องทวงถามจนทุกอย่างเคลียร์ ทั้งนี้เพื่อ motivation และ productivity ของตัวเราเอง
4. อย่าปล่อยให้น้ำหนักสวนทางกับ productivity
สุขภาพมาเป็นอันดับหนึ่ง ลุกบ้าง ยืดเส้นยืดสาย ใช้อุปกรณ์ที่นับก้าวที่ข้อมือหรือโทรศัพท์ให้เป็นประโยชน์ ลองสำรวจตัวเองดูว่าตั้งแต่อยู่บ้าน ได้เดินวันละกี่พันก้าว ถ้าเทียบกับเวลาไปออฟฟิศแล้วอาจจะจะตกใจได้…
จัดพื้นที่ในการทำงานให้เหมาะสม พยายามเลือกโต๊ะและเก้าอี้ที่พอดีกัน ระวัง office syndrome จะถามหาได้โดยไม่ต้องไปออฟฟิศ
ที่สำคัญไม่แพ้กันคือการดูแลอาหารการกิน อย่ากิน fast food หรือขนมมากเกินไป ไม่อย่างนั้นจะรู้สึกอึด และตามมาด้วยความรู้สึกขี้เกียจได้ ซึ่งถ้าเราต้องอยู่บ้านกันไปอีกสักระยะ น้ำหนักสวนทางกับ productivity แน่ๆ
5. Work from home กันแล้วอย่าลืม learn from home กันด้วยนะ เริ่มเสริมสร้างสมดุลในการทำงานที่บ้านง่ายๆ ด้วยสองคอร์สนี้ได้เลย
- Working remotely and collaboratively: use digital tools to save time and increase efficiency – แนะนำหลักการทำงานยุคปัจจุบัน โดยสมาชิกสามารถนำหลักในการ work remotely มาใช้กับ work from home ได้อย่างสบายๆ
- Quality of work life: an overview – ทำงานเครียดไป ใช่ว่าจะได้งาน หายใจลึกๆ แล้วมาหาความพอดีได้จากคอร์สนี้
เข้าสู่ระบบแล้วเริ่มเรียนได้เลย learning.yournextu.com
Email: helpme@yournextu.com
LINE Official: @yournextu
Tel: 061-420-5959